สาธิตประสานมิตร
ปัจจุบันโรงเรียนตั้งอยู่เลขที่ 174 ซอยสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร อยู่แถวมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเลยค่ะ การเดินทางน้องๆ ส่วนใหญ่จะมีคุณพ่อคุณแม่รับ-ส่ง และอีกส่วนนึงจะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน ถือว่าเดินทางสะดวกมากๆเลยค่ะ
ปัจจุบันมี 3 หลักสูตร
1. หลักสูตรปกติ
2. หลักสูตร Trilingual Plus+
3. หลักสูตรอินเตอร์ (SPIP)
ความยากของการสอบเข้าโรงเรียนสาธิตประสานมิตร สำหรับน้องๆภาคปกติ หากปีไหนสอบพร้อมกับโรงเรียนสาธิตปทุมวัน ก็จะไม่ยากมาก เพราะเฉลี่ยๆเด็กเก่งๆ เน้นไปทางโรงเรียนสาธิตปทุมวันซะส่วนใหญ่ หากปีไหน สอบไม่พร้อมกัน ก็จะยากมากถึงมากที่สุดเพราะน้องๆทุกคนจะสามารถสอบได้ทั้ง 2 สนามเลยต้องเตรียมตัวดีๆ เพราะข้อสอบนั้นจะหินกว่าข้อสอบ Pre-Test ที่เคยเจอมาสุดๆ น้องๆคนไหนที่ได้คะแนน Pre-Test เยอะๆ ก็อย่าชะล่าใจไปนะคะ เจอข้อสอบจริงๆอาจตกม้าตาย เจอเพื่อนๆเตรียมตัวพุ่งทยานโค้งสุดท้ายแซงนำไปเลย เพราะฉะนั้นอย่าประมาทเด็ดขาด ส่วนสำหรับน้องที่จะสอบเข้าในภาคนานาชาติหรือที่เราเรียกกันว่า SPIP ของโรงเรียนสาธิตประสานมิตรเนี่ย ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะข้อสอบนั้นจะไม่อยากเท่ากับน้องๆภาคปกติ เรียกว่าหากน้องคนไหนเรียนอินเตอร์มาอยู่แล้วคลายกังวลได้เลยค่ะ เพียงได้มารู้แนวข้อสอบ หรือฝึกทำโจทย์สอบเข้าบ่อยๆ ฝันไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอนค่ะ
หลักสูตรปกติ
อัตราการแข่งขัน
จำนวนผู้สมัครสอบ เฉลี่ยปีละประมาณ 2,000-2,500 คน
จำนวนรับทั้งหมด
น้องๆที่สอบเข้าทั่วไป 120 คน
น้องๆที่มีความสามารถพิเศษ ดนตรี 15 คน, นาฏศิลป์ไทย 8 คน, ลีลาศ 2 คน, กีฬาต่างๆ 15 คน ซึ่งแต่ละปีอาจมีเปลี่ยนแปลงจำนวนที่รับอาจแตกต่างกันไปค่ะ
น้องๆที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ไม่เกิน 2 คน
โครงการความร่วมมือทางด้านกีฬาฟุตบอล ไม่เกิน 20 คน
น้องๆที่มีความต้องการพิเศษ ไม่เกิน 13 คน เช่น บกพร่องกทางการเรียนรู้ สติปัญญา ออทิสซึม สมาธิสั้น
**น้องๆที่สมัครได้จะต้องเป็นน้องๆที่กำลังจะจบชั้นป.6 ในปีเท่านั้นค่ะ
อัตราส่วนการรับ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1:20
อัตราการแข่งขันถือว่าสูงมากๆเมื่อเทีบกับโรงเรียนต่างๆ แต่จำนวนผู้สมัครไม่ว่ามากหรือน้อยเพียงใด อัตราการแข่งขันที่สูงหรือต่ำมากๆ จริงแท้แล้วเป็นตัวแปรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และแทบจะไม่มีผลเลยสำหรับน้องๆที่เตรียมตัวมาพร้อมลงสนามเป็นอย่างดี
วิชาที่ใช้สอบเข้าม.1
ข้อสอบมีทั้งหมด 6 วิชาได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความถนัดทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
“วิชาความถนัดทางการเรียน” ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญา ความถนัด ความคล่องแคล่วในการแก้ปัญหา
จำนวนข้อสอบความถนัดทางการเรียนในแต่ละปีจะอยู่ที่ 50-80 ข้อ
โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ
1. ความสามารถทางด้านตัวเลข 30 ข้อ
2. ความสามารถทางด้านภาษา 20 ข้อ
3. ความสามารถทางด้านเหตุผล 30 ข้อ
รวมกันทั้งหมด 80 ข้อ (นำรูปตัวอย่างมาจากน้องๆที่เข้าสอบในปี 2560 ค่ะ)
ความถนัดทางด้านตัวเลข
เป็นข้อสอบเกี่ยวกับตัวเลข เน้นดูตัวเลข หาชุดลำดับตัวเลข รวมถึงอนุกรมเลขาคณิต พร้อมโจทย์เชิงวิเคราะห์ จะเป็นข้อสอบที่วัดความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รวมถึงทักษะการใช้ Operations พื้นฐาน เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และ ความสามารถ ในการตีความและแก้โจทย์ที่ต้องอาศัย พื้นฐานความเข้าใจในความคิดรวบยอด
ความถนัดทางด้านภาษา
ข้อสอบด้านนี้วัดความรู้ ความเข้าใจ และเหตุผลเชิงภาษาของผู้เรียน โดยคลอบคลุม พื้นฐานความรู้ความเข้าใจทางภาษา ในการคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ประเมินรูปแบบต่างๆ ระหว่าง ศัพท์ สำนวน ข้อมูล และแนวความคิดที่สื่อในรูปของบทความหรือข้อความ เช่น การเติมข้อความให้ได้ใจความสมบูรณ์ การหาความหมายของคำ คำตรงข้ามของคำ การอุปมา อุปไมย มีเรื่องคำราชาศัพท์ เข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง การหาคำที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือตรงกันข้ามกันเป็นต้น
ความถนัดทางด้านเหตุผล
เป็นข้อสอบที่เน้นการเชื่อมโยงตรรกะทางด้านความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลที่เกี่ยวข้องกัน เป็นการนำเหตุและผลจากโจทย์มาเชื่อมโยงกันเพื่อหาคำตอบ เช่นการเรียงลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ฉันไปโรงเรียน พี่ไปตลาด พ่อไปทำงาน แม่เฝ้าบ้าน ฉะนั้นใครอยู่บ้าน เป็นต้น
แต่ปี 2561 เป็นต้นมา ข้อสอบสอบเข้าม.1 จะมีวิชาหนึ่งเข้ามาด้วยนั่นคือ
“วิชาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์”
เริ่มตั้งแต่ปี 2561 จึงมีข้อสอบความถนัดทางการเรียน เหลืออยู่เพียง 50 ข้อเท่านั้น และเพิ่มข้อสอบในรายวิชาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จำนวน 60 ข้อ รวม 2 วิชา จึงมีข้อสอบ 110 ข้อ ใช้เวลา 90 นาที
ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะแบบออกทั้งหมด 5 ทักษะ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะแบ่งออกทั้งหมด 14 ทักษะด้วยกัน ซึ่งแต่ละทักษะนั้นมีอะไรบ้าง น้องๆสามารถดูได้จากรูปภาพนี้เลยค่ะ
จำนวนข้อสอบในแต่ละวิชาจะไม่เท่ากัน ซึ่งความยากไม่ต้องพูดถึงคือยากทุกวิชาค่ะ แต่วิชาที่น้องๆสามารถเก็บคะแนนได้ไม่ยากคือวิชาความถนัดทางการเรียน และวิชาน้องใหม่ที่นำมาออกข้อสอบด้วยคือ วิชาทักษะกระบวนการคิดวิทย์และคณิตค่ะ หากน้องๆรู้ทริคหรือแนวข้อสอบที่เป๊ะแล้ว บอกเลยว่าง่ายนิดเดียวอย่าปล่อยให้หลุดมือไปนะคะ
วัน - เวลาที่ใช้ในการสอบ
เพิ่มเติม น้องๆที่สอบโควต้าหรือความสามารถพิเศษ จะต้องสอบเหมือนน้องๆที่สอบเข้าแบบปกติติเลย แต่จะมีสอบปฏิบัติตามความสามารถที่น้องๆสมัครมา และมีเพิ่มเติมคือ…. น้องๆต้องเตรียม Porfolio ด้วยนั่นเอง ซึ่งคะแนน Porfolio นำไปใช้ด้วยถึง 10% ด้วยกัน เยอะมากๆเลยค่ะ
อัพเดทตารางและวิชาที่ใช้สอบสาธิตประสานมิตร หลักสูตรปกติปีล่าสุด
ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบเข้าม.1
น้องๆทั่วไปค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 900 บาท ส่วนน้องๆประเภทโควต้า ไม่ว่าจะเป็น น้องๆที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือเคลื่อนไหว, โครงการความร่วมมือด้านกีฬาฟุตบอล, น้องๆทั่วไปที่สมัครความสามารถพิเศษทุกประเภท ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบจะอยู่ที่ 2,000 บาทค่ะ
สามารถชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทยได้เลยค่ะ เวลาสมัครสอบทั้งสอบจริงและ Pre-Test จะเป็นการสมัครแบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ของทางโรงเรียนที่ https://www.spsm.ac.th หลักจากชำระเงินเสร็จแล้ว สามารถพิมพ์ใบสมัครสอบได้ทางเว็บไซต์ของโรงเรียนเหมือนเดิม (อย่าลืมพกไปด้วยในวันสอบนะคะ)
ค่าเทอม - หลักสูตรปกติ
รายการ | |
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (7,200 บาท) 1.1 ค่าอาหาร 1.2 ค่าประกันอุบัติเหตุ |
7,000.- 200.- |
2. ค่าบำรุงการศึกษา(พัฒนาคุณภาพการศึกษาและกิจกรรมของนักเรียน) | 12,00.- |
3. ค่าธรรมเนียมสมาคมผู้ปกครองและครูฯ (10,100 บาท) 3.1 ค่ากิจกรรมพิเศษและพัฒนาการเรียนการสอน 3.2 ค่าบำรงสาธารณูปโภค 3.3 ค่าเอกสารประกอบการสอน 3.4 โครงการภาษาเพื่อการสื่อสาร 3.5 ค่าลงทะเบียนสมาชิคสมาคมฯ (เก็บจากนักเรียนที่เข้าใหม่) 3.6 ค่าบำรุงสมาคมฯ |
5,000.- 2,000.- 1,500.- 1,000.- 100.- 500.- |
ค่ากิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเรียน | 4,200.- |
ค่ากระเป๋านักเรียน | 300.- |
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น | 33,800.- |
หลักสูตรนานาชาติ หรือ SPIP
– Satit Prasarnmit International Program –
SPIP สอนตามหลักสูตรของ Cambridge ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่รู้จักของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งทั้งในในสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย เยอรมัน และอีกนานาประเทศ นอกจากนี้ SPIP ยังได้รับการรับรองให้สามารถจัดสอบCambridge IGCSEs, A Level และ Cambridge Checkpoint ได้ ซึ่ง Cambridge IGCSEs ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการของไทยให้เทียบเท่ากับ “ประกาศนียบัตรระดับชั้นมัธยมศึกษา” เปิดสอนตั้งแต่ระดับ Year 7 – 12 รูปแบบการเรียนจะเป็นระบบของ IGCSE ซึ่งภาคเรียนของ โรงเรียนสาธิตประสานมิตรหลักสูตรนานาชาติ (SPIP) จะแบ่งออกเป็น 3 ภาคเรียน
– Term 1 : August-December
– Term 2 : January-April
– Term 3 : April-July
– Bridging Course : May-July
– Overseas Summer School : July-August
อัตราการแข่งขัน
จำนวนผู้สมัครสอบ เฉลี่ยปีละประมาณ 200-300 คน
จำนวนรับทั้งหมด
– Year 7 รับ 30-40 คน
– Year 8 รับ รับ 30-40 คน
จำนวนรับต่อปีไม่เท่ากัน ขึ้นกับจำนวนห้องที่เปิด และจำนวนนักเรียนเดิมที่เลื่อนชั้นขึ้นมา
อัตราส่วนการรับ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1:10
เกณฑ์คุณสมบัติการเข้าสอบคัดเลือกระหว่าง Year 7 และ Year 8
Year 7 (Cambridge Lower Secondary)
– น้องๆจะต้องจบการศึกษาจากหลักสูตรไทยภาคปกติ หรือภาค EP ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
– น้องๆจะต้องจบการศึกษาจากหลักสูตรอเมริกันระดับ Grade 5
– น้องๆจะต้องจบการศึกษาจากหลักสูตรอังกฤษระดับ Grade 6
Year 8 (Cambridge Lower Secondary)
– น้องๆจะต้องจบการศึกษาจากหลักสูตรไทยภาคปกติ หรือภาค EP ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
– น้องๆจะต้องจบการศึกษาจากหลักสูตรอเมริกันระดับ Grade 6
– น้องๆจะต้องจบการศึกษาจากหลักสูตรอังกฤษระดับ Grade 7
วิชาที่ใช้สอบ
ข้อสอบมีทั้งหมด 3 วิชาได้แก่ Maths, Sciences, English ซึ่งการสอบเข้า SPIP นั้น จะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ ได้แก่ การสอบข้อเขียน ที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของการอ่าน การฟัง การเขียน อีกทั้งยังรวมไปถึงการสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีกด้วย และอีกส่วนจะเป็นการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการสอบนี้ ทางโรงเรียนต้องการวัดทักษะภาษาอังกฤษด้านการสื่อสาร การตอบคำถาม ทั้งนี้ในเรื่องของความคิด มุมมองและไหวพริบในการตอบก็มีผลต่อการพิจารณาด้วยเช่นกัน
MATHS เกณฑ์สอบผ่าน > 60% เป็นข้อสอบเขียน มีทั้งข้อใหญ่และข้อย่อย
SCIENCES เกณฑ์สอบผ่าน > 60% เป็นข้อสอบเขียน มีทั้งข้อใหญ่และข้อย่อย
ENGLISH เกณฑ์สอบผ่าน > 70% Reading, Writing, Listenning, Speaking
การสอบสัมภาษณ์
– คำถามปีที่ผ่านมาจะเป็นคำถามทั่วๆไป เช่นการเรียนที่ผ่านมาของน้อง, น้องถนัดหรือไม่ถนัดวิชาใด, ความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับโรงเรียน, ความพร้อมของผู้ปกครองในการสนับสนุนบุตรหลาน
– ในการสัมภาษณ์หากน้องๆไม่แน่ใจว่าจะตอบเป็นภาษาอะไรดี เพื่อความชัวร์คุณครูแนะนำให้สอบถามกรรมการก่อนตอบคำถาม เราเตรียมความพร้อมทั้ง 2 ภาษาไปเลยค่ะ
– น้องๆควรแสดงความกระตือรือร้นในการตอบ /การแสดงความคิดเห็น ไม่ต้องกังวลเรื่อง grammar แค่ขอให้มีความมั่นใจ และมีความกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าตอบไว้ค่ะ
– ผู้ปกครองหากไม่สะดวกตอบเป็นภาษาอังกฤษ สามารถตอบเป็นภาษาไทยได้นะคะ
– แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย น่ารักสมวัย + พกรอยยิ้มและความมั่นใจไปให้เต็มร้อยค่ะ
สุดท้ายนี้คำถามปีนี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรทีมคุณครูและแอดมินขอเป็นกำลังใจให้นะคะ
วัน - เวลาที่ใช้สอบเข้า
วัน-เวลาสอบของปีการศึกษา 2563 แต่ละปีอาจมีเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ แต่วันและเวลาคร่าวๆจะอยู่ประมาณนี้ค่ะ
– กรอกใบสมัครและชำระค่าสมัครสอบ : ช่วงเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์
– พิมพ์ใบสมัครของผู้เข้าสอบ : ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนวันสอบจริง
– วันสอบจริง : ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือ ต้นเดือนมีนาคม
– เวลาสอบ : เวลา 08:00 น. – 15:30 น.
– ประกาศผลสอบ : หนึ่งสัปดาห์หลังวันสอบ
ค่าเทอม - หลักสูตรนานาชาติ
- Enrollment Fee 100,000 บาท (จ่ายครั้งเดียว)
- Activity support Fee 5,000 บาท (จ่ายครั้งเดียว)
- Tuition Fee 350,000 บาท
- Book Deposit 10,000 บาท
- Bridging course 65,000 บาท (สำหรับน้องๆที่ไม่ได้มาจากภาค Inter จะต้องเรียน
- Bridging course เพื่อปรับพื้นฐาน)
รวมค่าใช้จ่ายปีแรก และ Bridging course เท่ากับ 530,000 บาท
**หมายเหตุ**
เมื่อชำระเงินฯ และมอบตัวเรียบร้อยแล้วแล้ว หากประสงค์ลาออกไม่ว่ากรณีใดๆ น้องๆก็จะไม่มีสิทธิ์เรียกค่าใช้จ่ายคืน รวมทั้งการย้ายและเปลี่ยนโปรแกรมด้วย จะสอบเข้าโปรแกรมไหนต้องดูดีๆนะคะ ทุกหลักสูตร ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) แล้วไม่ได้ไปรายงานตัวตามวันเวลาที่กำหนดในวันประกาศผลการพิจารณาคัดเลือก ถือว่าสละสิทธิ์ทันที
หากไม่สะดวกมาเรียนที่สถาบัน
สามารถเรียนออนไลน์ผ่าน web ได้
ครูท่านเดียวกัน หนังสือเล่มเดียวกันเป๊ะ!!